Pages - Menu

Sunday, July 21, 2013

เกษตรกรคนเก่ง:เลี้ยงด้วงสาคูสร้างเงิน

สงขลาเพาะเลี้ยงด้วงสาคูรายได้กว่า5หมื่นบ.
เกษตรกรใน จ.สงขลา เพาะเลี้ยงด้วงสาคูในกะละมัง สร้างรายได้เสริมนอกเหนือจากการกรีดยางพารา เดือนละกว่า 5 หมื่นบาท
นาย สังวรณ์ มะลิวรรณ อายุ 48 ปี และ นางสุนันท์ มะลิวรรณ สองสามีภรรยา ชาวบ้านหูแร่ หมู่ 3 ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา หันมาเพาะเลี้ยงด้วงสาคูในกะละมัง เป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้นอกเหนือจากอาชีพหลักที่กรีดยางพารา จนประสบความสำเร็จ มีรายได้ต่อเดือนเกือบ 5 หมื่นบาท โดยสร้างโรงเรือนเพาะเลี้ยงในบริเวณบ้าน และขยายการเลี้ยงตลอดช่วง 3 ปี จนถึงขณะนี้ เพิ่มเป็น 500 กะละมัง สามารถเลี้ยงด้วงสาคูออกจำหน่ายได้สูงสุด 200 กิโลกรัมต่อเดือน ขายได้กิโลกรัมละ 250 บาท และเป็นที่ต้องการของตลาดแต่ละรุ่นที่ออกมาไม่พอขาย และกำลังขยายการเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้น
ส่วนขั้นตอนของการเลี้ยงใน กะละมัง จะใช้ต้นสาคูมาบดผสมกับอาหารหมูโต 1 จาน ผสมน้ำคลุกเคล้าให้เข้ากัน และนำพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ใส่ลงไปกะละมังละ 10 ตัว นำฝามาปิดกะละมังไว้ พ่อแม่พันธุ์ก็จะเริ่มวางไข่ ทิ้งไว้ 1 เดือน ก็สามารถจับขายได้ โดยแต่ละกะละมังจะได้ตัวด้วงประมาณ 1 กิโลกรัม แต่จะต้องคอยดูแลให้มีความชื้นสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นเคล็ดลับสำคัญที่ทำให้ด้วงโตเร็วและมีรสชาติหวานมัน อีกทั้งมีโปรตีนสูง เป็นที่ต้องการของตลาด

เกษตรกรคนเก่ง:เลี้ยงด้วงสาคูสร้างเงิน

เกษตรกรคนเก่ง : เลี้ยงด้วงสาคูสร้างเงิน 'คำนึง รัตนพันธ์' : โดย...สุพิชฌาย์ รัตนะ

 

                            เป็นที่รู้กันดีโดยทั่วกันว่า อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช คือดินแดนที่มีโอโซนดีที่สุดของไทย ดังนั้น จึงไม่แปลกหากที่นี่จะมีพืชผลการเกษตรที่มีคุณภาพ รวมทั้งการเลี้ยง "ด้วงสาคู” ของ “คำนึง รัตนพันธ์” สตรีรุ่นใหญ่แห่ง ต.เขาแก้ว อ.ลานสกา ที่ผลผลิตด้วงชนิดนี้ส่งขายยังแหล่งท่องเที่ยว เช่น เกาะสมุย กระบี่ ภูเก็ต สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ
                            "คำนึง" เล่าว่า ตัดสินใจศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงด้วงสาคูเมื่อหลายปีก่อน เพราะเชื่อว่าอากาศที่ดีจะส่งผลดีต่อตัวด้วงที่เพาะเลี้ยงอย่างแน่นอน บวกกับตอสาคูที่หาได้ในชุมชนล้วนเป็นชนิดที่สมบูรณ์ย่อมส่งผลดีต่อการเพาะ เลี้ยงไปโดยปริยาย
                            “ด้วงชนิดนี้มีทั้งหาจากป่าสาคู หรือป่ามะพร้าว และการเลี้ยงที่นำท่อนสาคูหรือท่อนลานมาวางไว้ เพื่อให้พ่อแม่พันธุ์มากิน ผสมพันธุ์และวางไข่ จากนั้นจึงเก็บบริโภคเมื่อมีขนาดโตเต็มวัย” คำนึง บอกสูตรการเลี้ยงแบบง่ายๆ
                            พร้อมย้ำว่า ปัจจุบันด้วงสาคูเป็นที่ต้องการของตลาดมากจนผลิตไม่ทัน เนื่องจากราคาดี เลี้ยงง่าย ใช้เวลาสั้น จึงมีผู้สนใจหันมาเลี้ยงกันมากขึ้น และได้มีการพัฒนาไปเลี้ยงในกะละมัง เนื่องจากควบคุมผลผลิต ทั้งแง่ปริมาณและเวลาได้
                            "จุดแข็งของที่นี่คือ อากาศดี ทำให้ด้วงตัวโตเมื่อเต็มวัยและลูกค้าต้องการมาก มองเห็นโอกาสจึงแปลงสภาพพื้นที่หลังบ้านเป็นโรงเรือนเลี้ยง และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจและยังขายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ให้แก่ เพื่อนบ้านในราคาถูกอีกด้วย"
                            แม้จะเป็นชาวสวนยางและสวนผลไม้ แต่วันนี้รายได้จากการเลี้ยงด้วงกลับเป็นอีกช่องทางที่สร้างรายได้ให้ครอบ ครัวเป็นกอบเป็นกำ จนมีหลายคนเดินทางมาศึกษาดูงานที่บ้านมากพอๆ กับลูกค้าที่เดินทางมาซื้อด้วงอย่างไม่ขาดสาย
                            สนนราคาขายด้วงอยู่ที่ กก.ละ 300-500 บาท ตามแต่ละพื้นที่ที่สั่งซื้อ ใครที่สนใจศึกษาดูงาน หรือขอองค์ความรู้ ต้องการทราบวิธีการเลี้ยง ตลอดจนอยากลองลิ้มชิมด้วงชนิดนี้ ติดต่อได้ที่ 08-9292-2886 หรือ 09-0479-6037 ได้ทุกวัน


--------------------
(เกษตรกรคนเก่ง : เลี้ยงด้วงสาคูสร้างเงิน 'คำนึง รัตนพันธ์' : โดย...สุพิชฌาย์ รัตนะ)

การเลี้ยงด้วง

การเลี้ยงด้วง

การเลี้ยงด้วงในที่นี้ รวมถึงการดูแลและการจับด้วงอย่างถูกวิธี ไม่รวมการเพาะ เราจะแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้ครับ

1.การเลี้ยงตัวเต็มวัย 2.การเลี้ยงไข่ หนอน ดักแด้(การดูแล)

1.การเลี้ยงตัวเต็มวัย

ด้วงตัวเต็มวัยนั้นส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่หากินกลางคืน กลางวันหลบซ่อนตามซอกไม้หรือในดิน ยกเว้นด้วงดอกไม้และด้วงมูลสัตว์บางชนิดที่ออกบินหากินยางไม้เวลาแดดออก แต่ในการเลี้ยงของเรา เมื่อไม่เห็นด้วงกินอาหารไม่ต้องตกใจ เพราะด้วงอาจขึ้นมากินตอนกลางคืน การเลี้ยงตัวเต็มวัย สำหรับการปูพื้นสามารถใช้ขี้เลื่อย ผสมเศษกิ่งไม้ใบไม้ และโรยด้านบนด้วยกิ่งไม้ ใบไม้ กันเมื่อด้วงหงายท้องแล้วพลิกกลับไม่ได้ทำให้หมดแรงตายได้ ปูไว้ในตู้จระจก หรือกล่องพลาสติก ขนาดใหญ่กว่าตัวดว้ง เพราะทำให้ด้วงไม่เครียด และด้วงไม่ชอบพื้นเรียบและลื่น จะทำให้ด้วงขาเสียได้ (สาเหตุที่ด้วงเครียดมาจากหลายสาเหตุ เช่นการจับเล่นบ่อยเกินไป) ปูในตู้ซัก 5-10เซนติเมตร และดินควรชื้นแต่ไม่แฉะและฉีดน้ำทุก 1-2วันหรือเมื่อเห็นหน้าดินแห้ง และหากด้วงเครียกก็กาจเดินตะกุยตู้ ขาพับและเสียได้เหมือนกัน และหากอยากให้ด้วงอยู่นานๆไม่ควรให้ด้วงผสมพันธุ์ เพราะด้วงจะเสียพลังงานเยอะในการผสมพันธุ์ แต่ถ้าเป็นไปได้ควรทำในกรณีที่ได้ด้วงมาแต่ตัวผู้ หรือได้ตัวผู้มาเกิน เพราะตัวผู้1ตัวสามารถผสมตัวเมียได้หลายตัว เพราะถ้าทำแบบนี้มาก ด้วงจะไม่มีโอกาสได้ขยายพันธุ์ครับ
การจับด้วง สำหรับด้วงกว่าง ทำได้ โดยจับที่เขาบน หรือเขาล่างก็ได้ ส่วนด้วงคีม ด้วงดอกไม้ หรือด้วงอื่นๆที่ไม่มีเขาที่อกให้จับที่ส่วนอกหรือตัวครับ

2.การเลี้ยงไข่ หนอน ดักแด้(การดูแล)



การเลี้ยงไข่ หนอน ดักแด้นั้น เหมือนกับการดูแลเด็กทารก เพราะ เป็นช่วงที่บอบบาง เราจะแบ่งเป็นช่วงดังนี้
2.1 การเลี้ยงไข่ 2.2 การเลี้ยงหนอน 2.3การเลี้ยงดักแด้

-2.1 การเลี้ยงไข่
การเลี้ยงไข่ หรือการแยกไข่มาฟักเองหรือที่เรียกว่า ฟักมือ ทำได้โดย แยกไข่ออกมา แล้ววางบนดินแล้วกลบ หรือ จิ้มดินให้เป็นหลุมข้างกระปุกแล้วหยอดไข่หลุมละใบเพื่อดูพัฒนาการของไข่ หรือวางไข่บนกระดาษทิชชู่ที่ชุ่มน้ำ แล้วรอจนฟักเป็นหนอน การจับไข่ ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการจับด้วยมือ ควรตักด้วยช้อนให้ติดมากับดิน เพราะไข่ของด้วงค่อนข้างบอบบาง และด้วงในตระกูล Eupatorus คือกว่าง5เขา,กว่างซาง ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรแยกออกมา เพราะบอบบางมาก แตกได้ง่ายๆ

-2.2 การเลี้ยงหนอน

การเลี้ยงหนอน หนอนแบ่งออกเป็น3ระยะ คือ L1 L2 และ L3 แต่ละวัยสามารถดูได้จากขนาดกะโหลก เพราะส่วนกะโหลกจะไม่มีการขยายตัวจนกว่าจะลอกคราบอีกครั้ง หนอนสามารถเลี้ยงได้ในกระปุกพลาสติก ขนาดตั้งแต่ 100ml(สำหรับ L1) และไล่ไปเรื่อยๆ รวมถึงสามารถเลี้ยงในตู้กระจกได้เช่นกัน สารอาหารของหนอนด้วง สำหรับด้วงคีมหนอนจะต้องการเชื้อเห็ด แต่ด้วงกว่างจะชอบมูลสัตว์ โดยเฉพาะมูลวัวแห้ง เราจะนำมาผสมขี้เลื่อย ไม้มะม่วง หรือขนุน หรือไม้อื่นๆ และหมักกับแป้ง อัตราส่วน แป้ง:ขี้เลื่อยผสมมูลหรือเชื้อเห็ด 1:9 (แล้วแต่สูตรของแต่ละคนด้วย) หมักเป็นเวลา 1-2เดือน และตากแดดเพื่อกำจัดไร ไส้เดือนฝอยที่จะมาเบียดเบียนหนอนของเรา จากนั้นนำขี้เลื่อย ผสมน้ำให้พอชื้น แต่ห้ามแฉะ ใส่ในกระปุกหรือตู้จนเกือบเต็ม แล้วใส่หนอนด้วงลงไป การเปลี่ยนอาหาร ทำทุก 1-2เดือน ดูจากมูลของหนอนถ้ามีมากก็เปลี่ยนได้เลย กระปุก ยิ่งใหญ่จะยิ่งดี หนอนจะกินขี้เลื่อยอยู่ในกระปุก จนเปลี่ยนวัยเรื่อยๆจนเาดักแด้(เราควรเปลี่ยนขนาดกระปุกตามขนาดของหนอน) การตรวจเช็คหนอนควรทำตอนเปลี่ยนอาหาร ไม่ควรรบกวนหนอนมาก และหนอนไม่ชอบแสงและเสียงรบกวนมากเท่าไหร่ และควรหมั่นฉีดน้ำให้หน้าดินชื้นเสมอเมื่อหน้าดินแห้ง และหนอนในระยะ L1ควรใช้ช้อนตักเพราะเมื่อใช้มืออาจทำให้หนอนตายได้เพราะค่อนข้างบอบบาง

-2.3 การเลี้ยงดักแด้

การเลี้ยงดักแด้ หนอนด้วงเมื่อระยะ L3 ช่วงท้ายตัวจะเหลือง และเริ่มทำโพรงตัวย่น เตรียมเข้าดักแด้ ดักแด้นั้นเป็นช่วงที่บอบบางมากที่สุด ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรแยกออกมา แต่ถ้าต้องการศึกษา สามารถทำได้โดยใส่ไว้ในโอเอซิส ที่ทำเลียนแบบโพรงที่ด้วงสร้างเพื่อเข้าดักแด้ และฉีดน้ำให้ชื้น ย้ายโดยใช้มือหยิบดักแด้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้ดักแด้ช้ำแล้วนำใส่โอเอซิสที่กดเลียนแบบโพรงที่หนอนสร้างขึ้นมา และไม่ควรใช้แฟลชในการถ่ายรูปเพราะดักแด้จะตายได้ ไม่ควรให้กระปุกใส่ดักแด้นั้นกระทบกระเทือน หากเป็นโพรงที่หนอนสร้างเอง ถ้ากระทบกระเทือนมากโพรงอาจพังได้และรอจนกว่าด้วงออกดักแด้ จากนั้นด้วงจะพักตัวอยู่ในโพรงหรือในดิน นาน 1-2เดือนก่อนขึ้นมากินอาหาร บิน และ ผสมพันธุ์

จบสำหรับ บทความเบื้องต้น เรื่อง การเลี้ยงด้วงครับ

การเพาะด้วง

 การเพาะด้วง

การเพาะด้วงนั้น ด้วงตระกูลที่ส่วนใหญ่นิยมเพาะกันคือ ด้วงกว่าง,ด้วงแรด(Dynastinae) ด้วงคีม(Lucanidae) และด้วงดอกไม้(Cetoniinae)

แต่ด้วงกว่าง และด้วงดอกไม้จะมีวิธีการเพาะคล้ายๆกัน ต่างกันเพียงไม่กี่ข้อ ในการเพาะ เราจะพูดถึงการผสมพันธุ์ด้วง การจัดตู้จนถึงรื้อตู้เพื่อหาหนอนครับ
จะแบ่งเป็นข้อๆ คือ 1.ด้วงกว่าง,ด้วงแรด 2.ด้วงคีม 3.ด้วงดอกไม้ 4.ด้วงอื่นๆ แต่เราจะพูดเรื่องการผสมพันธุ์ด้วงกันก่อน


คือ ด้วงที่จะพร้อมผสมนั้นหลังจากออกดักแด้ รอให้ด้วงบินและกินอาหารนับว่าพร้อมผสมแล้ว การจัดตู้ผสม ก็ไม่ยาก ใช้กระปุกเล็กๆพอใส่ด้วงได้ ใส่ดินหรือไม่ใส่เลย แต่ให้มีกิ่งไม้หรือขอนไม้ให้เกาะเป็นพอครับ ฉีดน้ำเล็กน้อย ใส่ตัวผู้กับเมียลงไป ถ้าตัวผู้ไล่หนีบหรือชนตัวเมีย ให้แยกตัวเมีย อกกมา 3-7วัน หรือมากกว่า แล้วค่อยใส่ตัวเมียลงไปเพราะตัวผู้อาจจะเครียดและหนีบตัวเมียตายได้ และนี่ก็คือการผสม เราจะช่วยนิดเดียวเช่นจับตัวเมียไม่ให้หนี(ด้วงบางชนิด แค่เห็นก็ผสมอย่างง่ายดายไม่ต้องจัดตู้อะไรเลย)


มาถึงขั้นจัดตู้และข้อมูลต่างๆกันครับ

1.ด้วงกว่าง,ด้วงแรด(Dynastinae)
ด้วงกว่างและด้วงแรดเป็นด้วงที่ส่วนใหญ่สามารถเพาะได้ไม่ยุ่งยากและเพาะไม่ยาก เช่น กว่างชน กว่างญี่ปุ่นหรือมูชิคิง ด้วงแรดมะพร้าว ซึ่งเป็นตัวเริ่มหัดเลี้ยงได้ดี การเพาะ ทำได้โดย ใช้ ขี้เลื่อย ผสมมูลสัตว์+แป้ง หมัก 1-2เดือน (หรือซื้อเอาตามเว็บไซต์) เมื่อหมักเสร็จ นำ มาคลุกน้ำ ปรับความชื้นให้บีบแล้วเป็นก้อน มีน้ำซึมตามง่ามนิ้วนิดหน่อย แต่ไม่หยด ไม่ให้แฉะ ตูในตู้กระจก หรือถังพลาสติกเจาะรูระบายอากาศ อัดแน่น ซัก 5-10เซนฯ จากนั้นเทแบบไม่ต้องอัดแน่น จนเกือบเต็มให้เหลือที่ให้ด้วงเดินได้ก็พอ และโรยกิ่งไม้ ใบไม้ด้านบนให้ด้วงเกาะ และเผื่อด้วงหงายท้อง หลังจากนั้น 1-2เดือนหรือมากกว่า จึงรื้อตู้หากมีหนอนจึงแยกหนอนออกมาเลี้ยง

2.ด้วงคีม(Lucanidae)


ด้วงคีม ส่วนใหญ่ จะวางไข่ในขอนไม้ผุที่นิ่มจนมือแกะได้ ไม้ที่นิยมใช้ได้แก่ ไม้ขนุน มะม่วง ตีนเป็ด นุ่นป่า และไม้ก่อ เป็นต้น ยกเว้นตระกูล คีมกวาง (Odontolabis) และ คีมนีโอ (Neolucanus) จะมีวิธีการวางไข่คล้ายด้วงกว่าง ส่วนคีมอื่นๆจะวางไข่ในขอนไม้ การเพาะทำได้โดย นำ ขี้เลื่อย ผสมเชื้อเห็ด+แป้ง หมักไว้ 1-2เดือน ปรับความชื้น อัดลงในตู้กระจกหรือถังพลาสติกเจาะรูระบายอากาศ ซัก 5-10เซนฯ วางไม้ผุที่ผ่านการเพาะเห็ดหรือไม่ก็ได้ เส็นผ่านศุนย์กลางอย่างน้อยควร 8เซนฯ วางลงไป และปูแบบหลวมกึ่งแน่น ลงไปครึ่งขอนไม้ และปูแบบหลวมจนเกือบท่วมขอนไม้ โรยกิ่งไม้ใบไม้ให้ด้วงเกาะ ปล่อยไว้ 2เดือนหรือมากกว่าจึงรื้อตู้ ถ้ามีหนอนจึงแยกมาเลี้ยง


3.ด้วงดอกไม้ (Cetoniinae)
ด้วงดอกไม้จะมีวิธีเพาะคล้ายด้วงกว่าง แต่ควรลดมูลสัตว์ลงนิดหน่อย ตอนผสมพันธุ์ ด้วงดอกไม้จะชอบผสมพันธุ์กลางแดด ส่วนวิธีเพาะสามารถทำได้เหมือนด้วงกว่างครับ

4.ด้วงอื่นๆ (ETC.)
เช่นด้วงมูลสัตว์ จะชอบวางไข่โดยปั้นก้อนมูลสัตว์เป็นก้อนและวางไข่ภายใน ด้วงหนวดยาวและแมลงทับ จะวางไข่ในไม้ที่ยังเป็นๆอยู่จึงจัดว่าด้วงหนวดยาวและแมลงทับเป็นศัตรูพืชชนิดหนึ่ง ดังนั้น การเพาะด้วงอื่นๆจะมีวิธีเพาะยุ่งยากกว่าด้วง3ข้อด้านบน

จบสำหรับ บทความเบื้องต้น เรื่อง การเพาะด้วงครับ

ประโยชน์ของด้วง

สวัวดีครับ วันนี้ ขอนำข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลอื่นๆของด้วงที่เป็นประโยชน์ รวมไปถึงวิธีการเพาะเลี้ยงด้วงมาฝากเพื่อนๆครับ ติดตามชมกันได้ที่นี่ครับ
หัวข้อที่น่าสนใจ
ประโยชน์ของด้วง
แหล่งที่อยู่อาศัยของด้วง
การเพาะด้วง
การเลี้ยงด้วง


อุปกรณ์เพาะเลี้ยงด้วงที่สามารถหาได้ง่ายๆใกล้ตัว


ประโยชน์ของด้วง

ประโยชน์ของด้วง
ประโยชน์ของด้วงนั้นมีหลายประการ แยกเป็น 1.ต่อการเกษตร 2.ความรู้สึก 3.การศึกษา
1.ต่อการเกษตร
ด้วงใน3ตระกูลหลัก คือ ด้วงกว่าง ด้วงคีม ด้วงดอกไม้ ยกเว้นด้วงแรด ตัวอ่อน จะไม่กัดกินรากไม้ และยังช่วยย่อยสลายมูลสัตว์ ไม้ผุที่ตายแล้ว ให้กลายเป็นดินอย่างรวดเร็ว แล้วยังด้วงดอกไม้ ที่ดูดกิน น้ำหวานจากเกสรของดอกไม้ บนดอย ยังช่วยกระจายเกสรได้อย่างดีบนดอยสูง
2.ต่อความรู้สึก
ด้วงนั้น คนไทยเริ่มนิยมเลี้ยงและเพาะด้วง เป็นสัตว์เลี้ยงมากขึ้น แต่ในเมื่อก่อนคนไทยภาคเหนือ ก็มีการชนกว่างเป็นประเพณีทุกเข้าพรรษาอยุ่แล้ว ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลินเพลิน และเพิ่มความรับผิดชอบให้ผู้เลี้ยงเพราะต้องคอยดูแลด้วง และคอยพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ
3.การศึกษา
ในการศึกษา เกี่ยวกับด้วง ในสาขาวิชา กีฏวิทยา ด้วงก็มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะจะมีการให้เก็บรวบรวมตัวอย่างแมลงส่ง และ ยังเป็นการศึกษาเกี่ยวกับแมลงด้วยตัวเอง เช่น การเพาะ เลี้ยง ฯลฯ ทำให้ต้องคอยพัฒนาตัวเองและสูตรการเพาะเลี้ยงไปเรื่อยๆ

แหล่งที่อยู่อาศัยของด้วง
ด้วงแต่ละชนิดจะมีแหล่งที่อยู่อาศัยไม่เหมือนกัน การที่เราจะตามหาด้วงแต่ละชนิดก็ต้องรู้ที่หลบอาศัยของมันก่อน เราจะแบ่งเป็นข้อๆดังนี้คือ 1.ด้วงกว่าง,ด้วงแรด 2.ด้วงคีม 3.ด้วงดอกไม้ 4.อื่นๆ
1.ด้วงกว่าง,ด้วงแรด
ด้วงกว่างและด้วงแรด ปกติสามารถพบได้ทั่วไปหลังด้วงบินมาเล่นไฟ แต่ในธรรมชาติ ด้วงกว่างจะดูดกินน้ำยางที่ต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ เช่น ต้นหางนกยูง พญาไร้ใบ ไผ่ เป็นต้น ส่วนด้วงแรดจะอยู่ในต้นไม้ที่วางไข่และผสมพันธุ์และตายในนั้น เช่น ต้นมะพร้าว ปาล์ม ส่วนด้วงแรดมองโกล จะอยู่ตามใต้นดินใต้ราก โคนต้นของ พญาเสือโคร่ง
2.ด้วงคีม
ด้วงคีม ปกติสามารถพบได้เมื่อบินมาเล่นไฟเหมือนกัน อีกวิธีคือหาตามไม้ผุหรือใต้ไม้ผุ และ ยังพบได้เมื่อกินน้ำยางวที่ต้นก่อต่างๆในตอนกลางคืน แต่ตอนกลางวันจะหลบตัวตามซอกไม้ในต้นก่อครับ หรือบางชนิดอาจชอบอยู่ตามดอกไม้เพื่อดูดกินน้ำยาง หรืออาจพบที่ต้นหนามไมยราพย์ยักษ์ครับ
3.ด้วงดอกไม้
ด้วงดอกไม้จะไม่บินเล่นไฟกลางคืน แต่จะออกบินตอนกลางวันเมื่อแดดออก ส่วนที่หากินจะชอบอยู่ตามต้นไม้ผล ที่มีผลไม้สุกคาต้น เช่นต้นตะขบ มะม่วง เป็นต้น
4.อื่นๆ
ด้วงอื่นๆ เช่น ด้วงมูลสัตว์ จะชอบอยู่ตามกองมูลสัตว์เช่น มูลวัว และช้าง แมลงทับจะอยู่ตามต้นที่หากินเช่น ต้นปอ ต้นมะขามเทศ


Friday, July 19, 2013

การเลี้ยงด้วงคีมกระทิงดำ

ระดับความเชื่องของกระทิงดำ 10 ตัว จะมี 1ตัวที่ดุ ครับ

นิสัยส่วนใหญ่ของกระทิงดำจะดุไม่มากครับ คือระดับกลางๆ

แต่ถ้าชอบด้วงไม่ดุเลย ผมแนะนำ เคอวิเดนครับเชื่องมาก จับเล่นได้ไม่หนีบ

คีมก็คล้ายๆกัน ไม่รู้ว่าชอบรึปล่าว







ชื่อวิทยาศาสตร์ Dorcus antaeus
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในโซนเอเซีย ตั้งแต่ มาเลเซีย ไทย ลาว กัมพูชา เวียตนาม พม่า จีน อินเดีย ภูฐาน

จะบอกว่าเป็นด้วงยอดนิยมในช่วง 20 ปีที่แล้วก็ว่าได้
กระทิงดำของไทยเคยได้รับความนิยมอันดับหนึ่ง เพราะการหากระทิงดำจากอินเดีย พม่า และมาเลย์ (ซึ่งสวยและใหญ่กว่า) ยังเป็นเรื่องยาก
มีคนเล่าให้ฟังว่าช่วงแรกที่ด้วงญี่ปุ่นบูมนั้น กระทิงดำของไทยส่งออกสูงถึง 1000 คู่/ปี สนนราคาแข่งกันที่ 3,000-10,000 บาทตามขนาด
รวมๆน่าจะมีด้วงชนิดนี้ไปญี่ปุ่นไม่ต่ำกว่า 10,000คู่แล้ว

มาถึงบันทึกฉบับนี้
ผมเพาะกระทิงดำมา 3-4 ปีเห็นจะได้
ด้วงคุ้นเคยของไทยตัวนี้ที่สามารถใหญ่ได้ถึง 85มม. ในราคาเกือบหมื่นบาท
ความสวยงามจัดว่าเข้าขั้น ถ้าได้ด้วงขนาดใหญ่หรือฟอร์มครบนะ
ในปีแรกๆกว่าจะได้ไข่มาซักฟองต้องบอกว่ายากมาก ลองแถบทุกวิธี ไม่ว่าจะตามที่ญี่ปุ่นแนะนำหรือตามหนังสือบอกไว้
กว่าจะพบวิธีหรือชนิดของวัสดุที่ถูกต้องก็กินเวลาไปนานทีเดียว

ด้วงคีมกระทิงดำไข่ได้ 2 แบบ ในขอนไม้ผุและในวัสดุรองพื้น
ต้องใช้ขอนนิ่มเท่านั้น สำหรับวัสดุรองพื้นแนะนำให้ใช้ Lmat pro หรือ ELmat เท่านั้น

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หลังจากขั้นตอนวางไข่ผ่านไป
มันเข้าสู่ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้หนอนออกมาใหญ่ที่สุด

ประเด็นที่สำคัญในช่วงนี้มีหลายปัจจัย
1.อุณหภูมิ ต้องเย็น เย็น และเย็น - เป็นประเด็นที่ยากที่สุดในบ้านเรา กับอากาศเมืองร้อนแบบนี้ แต่ไฟฟ้ามี แอร์มี ลุยได้!
อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 15-24 องศา ตามหนังสือว่าไว้

2.อาหารต้องใช่ สารอาหารต้องครบ ลองสูตรอาหารมันทุกสูตรที่มีคนบอกมานั่นแหละครับ กว่าจะรู้ว่าใช่หรือไม่ใช่สูตรนึงกินเวลาอย่างน้อย 6 เดือน เพราะต้องลองให้หนอนทานจนออกมาเป็นตัวจริงๆ แต่ก็ลุยเหมือนกัน หนอนมีป้อนไม่อั้น
อาหารที่เหมาะสมที่สุดคือเชื้อเห็ดนางฟ้า และเชื้อเห็ดนางฟ้าดำ เห็ดอื่นลองได้ แต่ไม่ใช่แน่นอน

3.ลักษณะเนื้อไม้ เนื้อไม้ที่ไม่ใช่มันคือไม่ใช่ เพราะถ้าเนื้อไม้นั้นหนอนไม่ทาน ต่อให้อาหารครบ หนอนก็สามารถตายในกระปุกนั้นได้ครับ
ไม้ที่ดีที่สุดคือขี้เลื่อยไม้ก่อหรือต้นโอ๊ค แต่มันเป็นไม้สงวน ของรองลงมาคือไม้ทะโล้ ใช้แทนได้

4.ความมืด เงียบ สงบ - ปัจจัยที่ยากที่สุดสำหรับนักเพาะรุ่นจิ๋ว เพราะความอยากรู้อยากเห็นนั่นเอง ต้องท่องไว้ในใจว่า อยากได้ตัวใหญ่ ต้องอดทนรอ
พื้นที่ที่ดีที่สุด ต้องมืดสนิท ไม่มีแรงสั่นสะเทือน วางไว้ในที่ไม่มีคนเดินผ่านเลย

5.ขนาดบรรจุของกระปุก - สรุปได้เลยว่า 1500-2500cc. คือขนาดที่ถูกต้องสำหรับตัวผู้แล้ว เล็กกว่านี้อาหารไม่พอ เปลี่ยนกระปุกบ่อย รบกวนหนอนบ่อยด้วย


กระทิงดำตัวนี้คือตัวที่ใหญ่ที่สุดที่เพาะได้ในปัจจุบัน ขนาด 56มม.
ข้อมูลเบื้องต้น
ก.ค. 54 เริ่มเพาะ [WDxWD]
ส.ค. 54 ได้ไข่
ก.ย. 54 หนอนระยะ 1 เลี้ยงกระปุก 600cc.
ต.ค. 54 หนอนระยะ 2 เลี้ยงกระปุก 600cc
ธ.ค. 55 หนอนระยะ 3 เลี้ยงกระปุกเห็ด 1500cc
มี.ค. 55 เปลี่ยนอาหาร
มิ.ย. 55 เปลี่ยนอาหาร
ก.ย. 55 เปลี่ยนอาหาร น้ำหนัก 19 กรัม
พ.ย. 55 ทำโพรง
ธ.ค. 55 ออกจากดักแด้


ตัวนี้เลี้ยงพร้อมกัน แต่ว่าไม่ได้เปลี่ยนอาหาร จนเชื้อเห็ดย่อยกลายเป็นสีดำ
ขนาดที่ได้เลยเล็กกว่ามาก


น่าดีใจ ถ้าให้บอกว่าด้วงกระทิงตัวใหญ่ 2 ชนิดยอดนิยมอยู่ในบ้านเราทั้ง 2 ชนิดเลย
นั่นคือด้วงคีมเคอร์วิเดนส์และด้วงคีมกระทิงดำ

แต่น่าเสียใจ ที่การเพาะให้ได้ขนาดเท่าตัวจากธรรมชาติในเมืองไทยยังไม่เคยเกิดขึ้น
เป็นเหมือนด่านใหญ่ที่ยังไม่มีใครผ่านไปได้

สำหรับนักเพาะที่ได้อ่านกระทู้นี้แล้ว จงรวบรวมสมัครพรรคพวกและเหล่าจอมยุทธนักเพาะทั่วหล้า
มาทำลายกำแพงที่ขวางอยู่นี้เถอะ

ด้วงดอกไม้มันบ้าน

ชื่อไทย: ด้วงดอกไม้มันบ้าน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Protaetia acuminata (Frabicius, 1775)
ขนาด: 12-18 มิลลิเมตร
เขตแพร่กระจาย: อินโดนีเซีย , พม่า , มาเลเซีย , ไทย พบได้ทุกภาค
ภาพประกอบ:

 ด้วงดอกไม้มันบ้าน

อันดับ       Coleoptera

วงศ์          Scarabaeidae      วงศ์ย่อย Cetoniinae

ชื่อวิทยาศาสตร์   Urbania acuminate

                 ด้วงดอกไม้มันบ้าน เป็นด้วงดอกไม้ขนาดเล็ก มีขนาด 12-18 มิลลิเมตร ลำตัวสีดำแต้มด้วยลวดลายสีขาว เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายกัน แตกต่างกันที่เพศผู้มีหนามที่แข้งของขาคู่หน้า 1 อัน เพศเมียมี  2-3  อัน

                ตัวเต็มวัย พบกินผลไม้สุกเช่น กล้วย ฝรั่ง เขตแพร่กระจาย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ลาว และประเทศไทย (พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย)  ตัวอ่อนมักพบอยู่บริเวณกองปุ๋ยหมัก หรือท่อนไม้ผุ

 ด้วงมีวงจรชีวิต 4 ขั้นตอน (complete metamorphosis) คือ          
        ระยะที่ 1 ใข่

        ระยะที่ 2 ฟักออกมาเป็นตัวหนอน

         ระยะที่ 3 เข้าดักแด้

         ระยะที่ 4 ออกจากดักแด้และเป็นตัวเต็มวัย







เพาะเลี้ยงยังไงครับตัวนี้
-ต้องใช้กล่องเพาะเลี้ยงกว้าง/ยาว/สูงเท่าไร
-ดินที่เพาะเลี้ยงควรเป็นแบบไหน


ง่ายๆเลยครับเจ้าพวกนี้ ปูหลวมๆ หน่อยครับ ใส่ดิน ใบไม้ผุ กล่อง ลึกหน่อยน่ะครับ สูงประมาณ 15-30 กว้าง 15 ก็อยู่แล้วล่ะครับ

ดินดำ ใส่ใบไม้ผุ ใส่มูลสัตว์ก็ใช้ได้แล้วล่ะครับ

ด้วงดอกไม้มันบ้าน
เลี้ยงง่ายแต่บินไว ต้องระวัง

ด้วงดอกไม้ดำแหลม Thaumastopeus nigritus

ด้วงดอกไม้ดำแหลม  haumastopeus nigritus 

เป็นด้วงขนาดกลาง มีสำดำมัน ขนาดประมาณ27-30mm. ด้วงชนิดนี้ยังแยกเพศไม่ได้เนื่องจากผมมีเจ้านี่เพียงแค่ตัวเดียวจึงหาตัวเปรียบเทียบไม่ได้
 แต่ตอนนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาหาข้อมูล แต่ตัวอ่อนเลี้ยงง่ายเหมือนด้วงดอกไม้ทั่วๆไปคือกินขี้เลื่อยผสมมูลสัตว์หรือดินดำ พบเห็นได้ทั่วไป
ในกรุงเทพฯมีพบบ้างตามแถบชานเมือง

 ด้วงดอกไม้ดำแหลม

       อันดับ      Coleoptera    
      วงศ์           Scarabaeidae    
      วงศ์ย่อย        Cetoniinae    
      ชื่อวิทยาศาสตร์      Thaumastopeus nigritus    




                                                                                                                              
  
             ด้วงดอกไม้ดำแหลม เป็นด้วงดอกไม้ที่พบได้ตั้งแต่ประเทศ อินเดีย พม่า ลาว มาเลย์เซีย อินโดนีเซียและในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศไทย ตั้งแต่ยอดดอยสูงสุดอย่างยอดดอยอินทนนทน์  และแม้ในกรุงเทพมหานครแถบชานเมืองก็ยังพบด้วงดอกไม้ดำแหลมได้บ่อยครั้ง ด้วงดอกไม้ดำแหลมเพศผู้และเพศเมียมีขนาดใกล้เคียงกันคือ 27-30 มม. ด้วงดอกไม้ในสกุล Thaumastopeus sp.  เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แตกต่างกันที่ส่วน tibia ของขาหน้าเพศผู้จะมีหนามขนาดเล็กและเรียวกว่าขาของเพศเมีย
         
                 
   

                  เพศเมียจะวางไข่ในเศษซากพืชหรือแม้แต่ในทางมะพร้าวสดที่มีเศษซากพืชร่วงอยู่ภายใน จากนั้นตัวอ่อนจะกินเศษซากพืชเหล่านั้น เมื่อใกล้เข้าสู่ระยะดักแด้ตัวหนอนจะสร้างกระเปาะจากเศษซากพืชเหล่านั้นโดยใช้วัสดุที่ละเอียดที่สุดล้อมรอบตัวเมื่อกระเปาะแห้งจะเป็นเกราะป้องกันจากศัตรูได้อย่างดี เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยจะเจาะกระเปาะดักแด้ออกมาเพื่อหากิน อาหารส่วนมากจะเป็นยางไม้และผลไม้ เช่น เนื้อของผลลำไย จึงเป็นศัตรูพืชชนิดหนึ่งของเกษตรกรที่ทำสวนลำไย อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบการระบาดรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อผลผลิตลำไย

      สีดำเหมือนนิลของมัน ทำให้ด้วงดอกไม้ดำแหลมเป็นแมลงที่มีเสน่ห์ และเป็นแมลงสวยงามอีกชนิดหนึ่ง