Pages - Menu

Thursday, July 4, 2013

กว่าง... หาจากที่ไหน

กว่าง... หาจากที่ไหน

         ผู้ จะเล่นชนกว่าง ต้องหากว่างก่อน โดยอาจหาตามพืชที่กว่างชอบกิน เช่น หน่อไม้รวก ใบคราม หรือต้นไม้ที่มีเครือรกฟ้าปกคลุม เพราะกว่างอาจมาเกาะเพื่อดูดน้ำหวาน เวลาที่หากว่างได้ง่ายที่สุดคือ ช่วงตี 4 เศษ เพราะกว่างยังไม่เข้าหลบอยู่ใต้ดิน



         แต่ส่วนใหญ่แล้ว การหากว่างมักใช้วิธีการตั้งกว่าง หรือใช้กว่างล่อ เรียกว่า "กกว่างตั้ง" โดยใช้กว่างที่มีขนาดเล็ก เช่นกว่างกิ กว่างแซม หรือกว่างตัวเมียที่เรียกว่า กว่างแม่อีลุ้ม เกาะกับอาหารที่เป็นตัวล่อ เช่น อ้อยที่ปอกแล้วใช้ไม้ขอเสียบส่วนบน, ชิ้นอ้อยที่เสียบสานกันเป็นตะแกรง แต่โดยมากมักจะเป็นกล้วยน้ำว้าผ่าซีก ใส่กะลาที่มีไม้ตะขอเสียบอยู่ ผูกโยงกับกว่างไว้ ให้เป็นกว่างล่ออยู่ข้างใน เรียกว่า "ซั้งกว่าง" แล้วนำตะกร้า หรือกะลาไปแขวนไว้กับกิ่งไม้ในตอนหัวค่ำ สถานที่นิยมคือ ตามชายคาบ้าน ชายป่า หรือในบริเวณที่ใกล้กับเนินดิน

         ในตอนกลางคืน กว่างตัวล่อจะบินมีเสียงดัง ดึงดูดให้กว่างที่บินเวลากลางคืนเข้ามาหาเพื่อติดกับ โดยมีอ้อนยอาหารชอบหลอกล่ออยู่ พอตอนเช้ามา "ยกกว่าง" ถ้าเห็นว่าเป็นกว่างโซ้งก็จะนำไปเลี้ยงไว้เพื่อชนต่อไป ถ้าเป็นกว่างแซมก็จะเก็บไว้เป็นกว่างล่อ ถ้าเป็นกว่างตัวเมียก็จะเก็บใส่กระป๋อง และใส่อ้อยเลี้ยงไว้ เพื่อใช้ล่อให้กว่างตัวผู้ชนกัน


อีกวิธีคือ ไปในป่าหาต้นคราม แล้วเขย่าต้นมันก็หล่นมาให้เก็บ

ต้องไว้ไม่งันบินหนีหมด ทางอิสานตอนล่างเรียกแมงคราม

ทางเหนือเรียกกว่าง ส่วนใหญ่กว่างชอบกินใบคราม คนอิสานเลยเรียกแมงคราม (ข้อสันนิฐานอีก 1 ข้อ)
 
การเลี้ยงกว่าง


   เมื่อได้กว่างโซ้งที่ถูกใจมาแล้ว นักนิยมกว่างจะเลี้ยงดูกว่างอย่างดีโดยหาอ้อยที่หวานจัดมาปอกเปลือกให้ ส่วนที่ตัวกว่างก็ใช้ด้ายสีแดงมาฟั่นยาวประมาณหนึ่งคืบมาผูกที่ปลายเขาด้าน บนเพื่อกันกว่างบินหนี ที่โคนลำอ้อยมีตะขอกันไม่ให้จิ้งจกเลียตีนกว่าง เพราะถ้าจิ้งจกเลียตีนกว่างแล้ว กว่างจะเกาะคอนได้ไม่มั่นคง นอกจากนี้ก็จะต้องหมั่นฝึกซ้อม การฝึกนี้จะใช้ไม้สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ปลายแหลมเรียกกันว่า “ไม้ผั่นกว่าง” เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ตื่นนอนตอนเช้าก็จะนำกว่างไปออกกำลังคือให้บินโดยใช้เชือกผูกจากเขากว่าง กว่างก็จะบินวนไปวนมา เมื่อเห็นว่าออกกำลังพอสมควรแล้ว จะนำกว่างไป “ชายน้ำเหมย” คือนำกว่างไปราดใบข้าวที่เปียกน้ำค้างในตอนเช้า หรือบ้างก็เคี้ยวอ้อยแล้วพ่นน้ำหวานใส่กว่าง ทำอย่างนี้ทุกวันกว่างจะแข็งแรง

กว่าง : แมลงนักสู้ผู้สง่างาม

        ฤดูฝนอันชุ่มฉ่ำ ส่งให้มวลต้นไม้เขียวขจี แตกกิ่งก้านสาขา งอกงามเพื่อออกดอก ออกผล เหล่าไม้ยืนต้นมีอายุเพิ่มขึ้นอีกขวบปี ลูกไม้เล็กๆ  พร้อมจะเจริญเติบโต เป็นต้นใหม่ แมลงหลายชนิดถึงวงจร โตเป็นตัวเต็มวัย กลายเป็นวัยเจริญพันธุ์เพื่อสืบลูกหลานต่อไป  ถ้าเรายกให้แมลงทับผู้มีสีสัน สวยงามเป็นราชินีแห่งมวลแมลงทั้งหลาย คงปฏิเสธไม่ได้ว่าราชาของแมลง คือ กว่าง นั่นเอง ด้วยมีรูปร่าง สีสัน สวยงาม ลีลาท่าทางสง่างาม ไม่ต่างไปจากการเยื้องย่างของม้าเลย

     กว่าง เป็นแมลงอีกชนิดหนึ่งที่มาพร้อมกับสายฝน ผู้คนต้อนรับอย่างเป็นมิตร ด้วยวงจรของกว่าง ไม่ได้เป็นศัตรูแก่เกษตรกร แต่กลับ มีคุณค่าทางจิตใจสำหรับชาวชนบทภาคเหนือ โดยเฉพาะ



               กว่างเป็นแมลงตระกูลด้วงปีกแข็ง ตัวผู้จะมีลักษณะสง่างาม ความเป็นนักสู้ที่มีลีลาการต่อสู้ ที่คล่องแคล่วความมีเสน่ห์ ของกว่างนอกจากรูปร่างท่าทางแล้วยังเป็นแมลงชนิดเดียวที่อยู่ภายใต้อาณัติ การ ควบคุมของคน ไม่ว่าต้องการให้เดินไป ทางซ้าย ขวา หน้า หรือหลัง กว่างทำได้ดั่งใจคนเสมอ ด้วยเหตุนี้ กว่างจึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนเสมอมา
     กว่างจะมีวงจรในรอบหนึ่งปี ในระยะที่เป็นตัวหนอนหรือตัวด้วงจะมีสีขาว  ตัวโต   มีความยาวประมาณ 5 - 6 เซนติเมตร และเส้นรอบวง ประมาณ 1 นิ้ว ในช่วงนี้จะอยู่ในดินชอบกินเศษใบไม้ผุ ตอไม้หรือต้นไม้ที่ผุ เป็นการช่วยธรรมชาติในการย่อยสลายใบไม้ต้นไม้ให้กลายเป็นปุ๋ยแก่ดินได้เป็น อย่างดี ต่อมากลายเป็น ดักแด้และตัวเต็มวัยเป็นวัยเจริญพันธุ์พร้อมสืบเผ่าพันธุ์ได้ ในช่วงที่เป็น ตัวหนอนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา ประมาณ 1 - 2 เดือน ก่อนที่จะถึงฤดูฝน เมื่อฝนตกลงมาทำให้ดินอ่อน

         ด้วงกว่างที่เจริญเติบโตเต็มที่ก็จะดันดินออกมาสู่โลกภายนอกเพื่อหาแหล่ง อาหารใหม่และเพื่อการผสมพันธุ์ กว่างตัวผู้ที่แข็งแรงเท่านั้นที่มีโอกาสรอดเพื่อการผสมพันธุ์ โดยกว่างจะต่อสู้เพื่อแย่งชิงตัวเมียและฝ่ายที่ชนะ ก็จะได้รับรางวัลได้ผสมพันธุ์กับตัวเมีย เป็นการคัดเลือกสายพันธ์ที่ดีตามธรรมชาติ

No comments:

Post a Comment