Pages - Menu

Sunday, July 7, 2013

"ด้วงก้นกระดก" ตัวเล็กแต่ร้ายแรง

"ด้วงก้นกระดก" ตัวเล็กแต่ร้ายแรง




          " ด้วงก้นกระดก " ด้วงปีกสั้น หรือ ด้วงก้นงอน (Rove beetle) อันดับ Coleoptera วงศ์ Staphyinidae พบกระจายทั่วโลก กว่า 20 ชนิด
สำหรับชนิดที่พบได้ในประเทศไทยมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Paederus fuscipes Curtis. เป็นด้วงขนาดเล็กประมาณ     7 มม.
ส่วนหัวมีสีดำ ปีกน้ำเงินเข้ม และส่วนท้องมีสีส้มมีความสามารถในการเคลื่อนไหว ได้รวดเร็ว
และมักจะงอส่วนท้องส่ายขึ้นลงเมื่อเกาะ อยู่กับพื้น จึงมักเรียกว่า "ด้วงก้นกระดก" ด้วงชนิดนี้อาศัยบริเวณพงหญ้าที่มีความชื้น    
ด้วงชนิดนี้สามารถปล่อยสารที่เรียกว่า "paederin" ออกมา สารชนิดนี้มีความเป็นพิษทำลายเนื้อเยื่อ 
    

          ด้วงชนิดนี้ชอบออกมาเล่นไฟในยามค่ำคืน โดยเฉพาะจะมีมากในฤดูฝน
ผู้ที่สัมผัสลำตัวด้วงชนิดนี้ หรือ ตบตีจนน้ำพิษแตก จะมีอาการปวดแสบปวดร้อน คัน ในรายที่เป็นมาก อาจมีไข้ปวดศรีษะ
หากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ แผลจะมีลักษณะเป็นทางยาว อาจจะพบเป็นตุ๋มใส (vesicle) อาการเหล่านี้จะหายเองได้ภายใน 7 - 10 วัน
ควรทำความสะอาดแผลและปิดปากแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ อาจใช้ยาสมานแผลยาทาทิงเจอร์เสลดพังพอน
หรือ ยาทาเสตียรอยด์ ยาแก้แพ้ได้ เบื้องต้นหลังจากทราบว่าสัมผัสด้วงชนิดนี้  ควรล้างด้วยน้ำสะอาดทันที หากอาการไม่ดีขึ้นให้พบแพทย์ 

ด้วงกระดก

No comments:

Post a Comment