Pages - Menu

Thursday, July 4, 2013

วิธีเพาะ ด้วงกว่าง อย่างง่าย

วิธีเพาะ ด้วงกว่าง ชนอย่างง่าย
       กว่างหรือบางท้องที่เรียกแมงคาม สาเหตุที่เรียกแมงคามสันนิฐานว่า น่าจะมาจาก กริยาของการชนกีฬากว่าง เพราะการชนกว่างในที่นี้ก็คือการใช้เขาหนีบ และจะเรียกการหนีบนี้ว่า "คาม" (ในภาษาเหนือ) ส่วนมากจะชนกัน 2 ใน 3 คาม ในกรณีที่ไม่ไม่ฝ่ายยอมแพ้
ในโอกาสต่อไปจะนำความรู้เรื่องการชนกว่าง อุปกรณ์ที่ต้องใช้ และรูปภาพมานำเสนอต่อไป


ที่นี้มาถึงการเพาะกว่าง เมื่อ ได้จับกว่างมาแล้วให้แยกเก็บตัวเมียไว้ไม่ให้ได้มีโอกาสผสมพันธุ์กับตัวผู้ ที่ไม่ต้องการ เช่น กว่างกิ  จากนั้นนำไปผสมพันธุ์กับตัวผู้ที่ต้องการ  ประมาณสามสี่ครั้งแล้วนำไปเลี้ยงในภาชนะที่เพาะไข่  โดยวิธีการดังนี้

                -เตรียมภาชนะ  เช่น หม้อดิน ถังพลาสติก หรือปี๊ป  ที่มีฝาปิด โดยเจาะรูอากาศไว้ด้วย
                -เตรียมวัสดุรองพื้น เช่น ขี้เลื่อย  แกลบ  ขุยมะพร้าว ใบไม้แห้ง

ขั้นตอนการทำถังเพาะ

ใช้ น้ำพรมวัสดุรองพื้นให้ชุ่มชื้นโดยทั่วแล้วนำไปใส่ภาชนะในอัตตราส่วน  3:4  โดยใช้มือกดทับให้แน่นพอประมาณ  จากนั้นวางอาหารกว่างชั้นบนสุด  เช่น อ้อย กล้วย ผลไม้รสหวาน

๑.       นำกว่างตัวเมียที่ผ่านการผสมพันธุ์มาแล้วปล่อยลงในถังเพาะ   และหมั่นตรวจดูอาหารทุกวัน  เก็บถังเพาะในที่ร่มเย็น
๒.     ให้ย้ายกว่างตัวเมีย ทุก๑๐วัน หรือไม่เกิน ๑๕วัน  เพื่อกว่างจะได้ไม่ทำร้ายตัวหนอนที่ออกจากไข่ใหม่ๆ  เพราะไข่จะฟักตัว ๑๕ – ๒๐ วัน  หรือนำไข่ไปฝังก้นหลุมเพาะได้เลย
๓.     เมื่อไข่ฟักตัวเป็นตัวหนอนแล้วให้อนุบาลไว้อีกอย่างน้อย ๑๐วัน จึงนำไปปล่อยในบ่อ หรือหลุมที่จัดเตรียมไว้ต่อ

การเตรียมบ่อหรือหลุมเพาะเลี้ยง

                ๑.เตรียมอาหารตัวหนอนให้พร้อม ได้แก่ ไม้ผุ มูลสัตว์ และไม่ให้สัตว์อื่นติดเข้ามาด้วย เช่น ตะเข็บ ตะขาบ แมงป่อง มดคันไฟ มดง่าม  ฯลฯ
                ๒.ใส่อาหารลงไปในบ่อ  ในอัตราส่วน 3:4   อัดแน่นพอประมาณ  แล้วจึงปล่อยตัวหนอนลงไป
                ๓.กลบด้วยดินในอัตราส่วนที่เหลือ  ถ้าเป็นบ่อปูนควรปลูกผักไว้กันแดด กันฝน ไม่ให้โดนบ่อมากเกินไป
                ๔.ป้องกันมดเข้าบ่อโดยขีดชอล์คฆ่ามดรอบๆบ่อ หรือทากาวดักหนูรอบๆบ่อ  และทำซ้ำเมื่อกาวเสื่อมสภาพ

การเตรียมหลุมเพาะเลี้ยง  ความลึกประมาณ๑เมตร ควรเป็นพื้นที่น้ำไม่ขัง   และไม่ใช้สารเคมีในบริเวณนั้น

                ๑.เตรียมอาหารตัวหนอนให้พร้อม ได้แก่ ไม้ผุ มูลสัตว์ และไม่ให้สัตว์อื่นติดเข้ามาด้วย เช่น ตะเข็บ ตะขาบ แมงป่อง มดคันไฟ มดง่าม  ฯลฯ
                ๒.ใส่อาหารลงไปในหลุม ในอัตราส่วน 3:4  อัดแน่นพอประมาณ  แล้วจึงปล่อยตัวหนอนลงไป
                ๓.กลบด้วยดินในอัตราส่วนที่เหลือ  ควรรดน้ำเมื่อดินแห้งติดต่อกันหลายวัน
เมื่อ ถึงฤดูกว่างจะออกมาเองให้ดักจับด้วยแสลน หรือตั้งกว่างด้วยกล้วยสุกงอม อ้อย หรือล่อด้วยหลอดไฟ โดยปกติกว่างจะช่วงค่ำประมาณ๑ทุ่มถึง๓ทุ่ม และช่วงเช้ามืด ประมาณตี๔ถึง๖โมงเช้า










หมายเหตุ    เอกสารฉบับนี้ทำขึ้นเป็นวิทยาทานสามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตแต่อย่างใด

จัดทำโดย    นายบรรจง  จินะสาม ๒๘ หมู่๑๗ ซอย๕ บ้านสันโค้งใต้ ต.ป่าแดด อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
                
                ยินดีเผยแพร่ข้อมูลการเพาะเลี้ยงโดยไม่คิดมูลค่าใดๆ

7 comments:

  1. ขอบคุณคร้าบ

    ReplyDelete
  2. ขอบคุณคร้าบ

    ReplyDelete
  3. ทำไมเวลาปล่อยให้ด้วงกว่างอยู่คนเดียวไม่ทันไรหันมาอีกทีมันต้องวาปหายไป

    ReplyDelete
  4. ขอบคุณมากครับ

    ReplyDelete