Pages - Menu

Friday, July 19, 2013

ด้วงดอกไม้ดำแหลม Thaumastopeus nigritus

ด้วงดอกไม้ดำแหลม  haumastopeus nigritus 

เป็นด้วงขนาดกลาง มีสำดำมัน ขนาดประมาณ27-30mm. ด้วงชนิดนี้ยังแยกเพศไม่ได้เนื่องจากผมมีเจ้านี่เพียงแค่ตัวเดียวจึงหาตัวเปรียบเทียบไม่ได้
 แต่ตอนนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาหาข้อมูล แต่ตัวอ่อนเลี้ยงง่ายเหมือนด้วงดอกไม้ทั่วๆไปคือกินขี้เลื่อยผสมมูลสัตว์หรือดินดำ พบเห็นได้ทั่วไป
ในกรุงเทพฯมีพบบ้างตามแถบชานเมือง

 ด้วงดอกไม้ดำแหลม

       อันดับ      Coleoptera    
      วงศ์           Scarabaeidae    
      วงศ์ย่อย        Cetoniinae    
      ชื่อวิทยาศาสตร์      Thaumastopeus nigritus    




                                                                                                                              
  
             ด้วงดอกไม้ดำแหลม เป็นด้วงดอกไม้ที่พบได้ตั้งแต่ประเทศ อินเดีย พม่า ลาว มาเลย์เซีย อินโดนีเซียและในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศไทย ตั้งแต่ยอดดอยสูงสุดอย่างยอดดอยอินทนนทน์  และแม้ในกรุงเทพมหานครแถบชานเมืองก็ยังพบด้วงดอกไม้ดำแหลมได้บ่อยครั้ง ด้วงดอกไม้ดำแหลมเพศผู้และเพศเมียมีขนาดใกล้เคียงกันคือ 27-30 มม. ด้วงดอกไม้ในสกุล Thaumastopeus sp.  เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แตกต่างกันที่ส่วน tibia ของขาหน้าเพศผู้จะมีหนามขนาดเล็กและเรียวกว่าขาของเพศเมีย
         
                 
   

                  เพศเมียจะวางไข่ในเศษซากพืชหรือแม้แต่ในทางมะพร้าวสดที่มีเศษซากพืชร่วงอยู่ภายใน จากนั้นตัวอ่อนจะกินเศษซากพืชเหล่านั้น เมื่อใกล้เข้าสู่ระยะดักแด้ตัวหนอนจะสร้างกระเปาะจากเศษซากพืชเหล่านั้นโดยใช้วัสดุที่ละเอียดที่สุดล้อมรอบตัวเมื่อกระเปาะแห้งจะเป็นเกราะป้องกันจากศัตรูได้อย่างดี เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยจะเจาะกระเปาะดักแด้ออกมาเพื่อหากิน อาหารส่วนมากจะเป็นยางไม้และผลไม้ เช่น เนื้อของผลลำไย จึงเป็นศัตรูพืชชนิดหนึ่งของเกษตรกรที่ทำสวนลำไย อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบการระบาดรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อผลผลิตลำไย

      สีดำเหมือนนิลของมัน ทำให้ด้วงดอกไม้ดำแหลมเป็นแมลงที่มีเสน่ห์ และเป็นแมลงสวยงามอีกชนิดหนึ่ง

No comments:

Post a Comment